เมื่อเตรียมตัวเสร็จในเวลา 7 โมงเช้า ไม่เห็นใครซักคน นอกจากริซ่าที่ลุกขึ้นมาเตรียมเครื่องแต่งตัวให้กับไอช่าแต่เช้าตรู่ จูเกชไม่ต้องพูดถึง ท่าทางยังนอนหลับอยู่บนเตียง ชาวเนปาลนี่เค้าชิลล์กับเรื่องเวลามากกว่าคนไทยซะอีกนะเนี่ย
วันนี้จะมีประท้วงอีก ทำให้คนที่บ้านทำหน้าเลิ่กลั่กกันไปหมด ฉันได้แต่นั่งงงๆ เพราะไม่เข้าใจอะไรกับใครเขา สรุปความว่าเขาไม่แน่ใจว่ารถจะผ่านไปยังวัดได้รึเปล่า ทำให้แผนการเดินทางต้องเปลี่ยนไปหมด แต่รถคันแรกนั้นได้นำเจ้าสาว แม่เจ้าสาว และคุณปู่กับคุณย่าไปที่วัดเรียบร้อยแล้ว ซักครู่ทุกอย่างเหมือนเริ่มเคลียร์เมื่อรู้ว่ารถสามารถผ่านไปไหนมาไหนได้
ทุกคนก็รีบเปลี่ยนชุดกันหมดทั้งบ้าน ไปวัดกันครบองค์ประชุมทีเดียว
ทุกคนก็รีบเปลี่ยนชุดกันหมดทั้งบ้าน ไปวัดกันครบองค์ประชุมทีเดียว
วันนี้เด็กๆ แต่งชุดพื้นเมืองสีแดงพร้อมเครื่องประดับแบบจัดเต็มสวยงามทีเดียว ชุดของไอช่านั้นเป็นผ้าที่แม่ของริซ่าใช้เมื่อตอนเธอแต่งงาน แต่ดูๆ ไปแล้วยังเหมือนใหม่อยู่เลย
ผู้หญิงที่มาร่วมในงานนั้นส่วนใหญ่แต่งชุดสีแดงสด เป็นสีแดงที่มารวมตัวกันในงานมงคล
ทำเรื่องดีๆ ร่วมพิธีศักด์ิสิทธิ์ ส่วนฉันเด๋ออีกตามเคยเพราะเพื่อนตัวแสบไม่เคยบอกข้อมูลใดๆ
ทำเรื่องดีๆ ร่วมพิธีศักด์ิสิทธิ์ ส่วนฉันเด๋ออีกตามเคยเพราะเพื่อนตัวแสบไม่เคยบอกข้อมูลใดๆ
พิธีเริ่มต้นด้วยการที่เด็กๆ เจิมหน้าผากให้กับอาสาว (น้องสาวพ่อนั้นมีส่วนสำคัญกับพิธีแต่งงานนี้มาก น่าจะประมาณเหมือนทำหน้าที่เป็นแม่ทูนหัวอะไรประมาณนั้น) หลังจากนั้นเธอเหล่านั้นต้องเดินออกไปด้านนอกบริเวณที่ทำพิธีเพื่อไประบายสีแดงตรงบริเวณส่วนเท้า
ด้านบนซึ่งจะต้องเก็บไว้อย่างนั้นเป็นเวลาหลายวันถึงจะล้างออกได้ หลังจากนั้นจึงกลับเข้ามาทำพิธีด้านใน และเช่นเคยพิธียาวยืดมาก กว่าจะผ่านแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เพราะต้องทรมานกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว แถมมีควันธูป ควันไฟจากไม้ ในการประกอบพิธี การปลุกเสก ถวายของแก่เทพเจ้า ในที่สุดก็มาถึงขั้นตอนสำคัญคือการเจิมหน้าผากเจ้าสาวตัวน้อยด้วยผงสีแดงและสีส้ม ซึ่งคนที่เจิมนั้นคือแม่ของจูเกช แต่ละขั้นตอนนั้นต้องทำให้กับเด็กครบทั้ง 7 คน จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน
ด้านบนซึ่งจะต้องเก็บไว้อย่างนั้นเป็นเวลาหลายวันถึงจะล้างออกได้ หลังจากนั้นจึงกลับเข้ามาทำพิธีด้านใน และเช่นเคยพิธียาวยืดมาก กว่าจะผ่านแต่ละขั้นตอนต้องใช้ความอดทนอย่างมาก เพราะต้องทรมานกับอากาศที่ร้อนอบอ้าว แถมมีควันธูป ควันไฟจากไม้ ในการประกอบพิธี การปลุกเสก ถวายของแก่เทพเจ้า ในที่สุดก็มาถึงขั้นตอนสำคัญคือการเจิมหน้าผากเจ้าสาวตัวน้อยด้วยผงสีแดงและสีส้ม ซึ่งคนที่เจิมนั้นคือแม่ของจูเกช แต่ละขั้นตอนนั้นต้องทำให้กับเด็กครบทั้ง 7 คน จึงใช้เวลาค่อนข้างนาน
หลังจากนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญของพิธีซึ่งคราวนี้คุณพ่อจะเป็นคนมีบทบาทล่ะ ขั้นแรกต้องบูชาเทพเจ้าก่อน (ขาดไม่ได้เลยขั้นตอนนี้ในทุกพิธีของฮินดู) จูเกชดูจะเป็นคุณพ่อที่เก้ๆ กังๆ ที่สุด เพราะคงไม่ได้รู้เรื่องขั้นตอนใดๆ กับเขาซักเท่าไหร่ ต้องมีริซ่าและนูนู่กำกับทุกขั้นตอน จะหยิบจับ เสก โยน เทอะไร เป็นขัดเขินไปซะหมด หลังจากนั้นจึงเร่ิมทำพิธีได้โดยที่หน้าที่ของคุณพ่อคือคนที่ยกลูกสาวให้กับสามีก็คือเทพเจ้านั่นแหล่ะ แต่สัญญลัษณ์ที่ใช้ในพิธีนี้ก็คือลูกพลับ โดยที่เธอจะต้องรับลูกพลับมาถือไว้ในมือและถูกผูกข้อมือทั้งสองด้านไว้ด้วยกัน ตลอดเวลาที่ทำพิธีนั้นเด็กหญิงจะนั่งอยู่บนตักของคุณพ่อแต่ละคน ซึ่งเป็นภาพที่น่ารักมากๆ คุณพ่อบรรจงกอดลูกสาวตัวเล็กไว้ คุ้มครองเธอจากอันตรายทุกสิ่งอย่าง ฉันนึกภาพไม่ออกว่าวันนึงที่ไอช่าถึงเวลาแต่งงานจริงๆ จูเกชจะทำหน้าอย่างไร ถ้ามีโอกาสฉันก็อยากมาดูด้วยตาตัวเอง
พิธีวันนี้ค่อนข้างยาวแต่มีการเคลื่อนไหวเยอะทำให้ไม่ค่อยน่าเบื่อเท่าไหร่ หลังจากเด็กรับลูกพลับมาไว้ในมือแล้ว ริซ่าก็จูงไอช่าและเด็กๆ ทั้งหมดเดินวนรอบๆ บริเวณที่ทำพิธีทั้งหมด 5 รอบ โดยที่มุมรอบๆ ทั้ง 4 มุมนั้นคุณแม่แต่ละคนจะไปยืนถือของที่ใช้ในพิธีและเด็กๆ จะต้องมาหยุดและมีการอวยพรให้กับหนูๆ แต่ละคน รอบแรกพวกเธอยังอุ้มลูกพลับไว้ในอุ้งมือ รอบที่สองนำลูกพลับใส่ลงในจานดินเผาที่เขียนสีอย่างสวยงาม หลังจากนั้นเดินวนไปอีก 3 รอบ ก่อนที่จะหมดรอบนั้นจะต้องเดินบนใบพลู และนำเงินไปให้กับเด็กชาย ซึ่งผู้รับหน้าที่ก็คือ อาจิ กับ เกาชิค (ลูกของนูนู่) ดูเหมือนว่าส่ิงละอันพันละน้อยล้วนมีความหมายในเชิงศาสนาหรือ
สัญญลักษณ์ทั้งนั้น ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการรับของขวัญจากบรรดาญาติๆ ที่มาในงาน ที่เน้นมากคือข้าวสารและเงินส่วนของอื่นๆ ที่นำมาเป็นของขวัญนั้นส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมทั้งขนม
สัญญลักษณ์ทั้งนั้น ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการรับของขวัญจากบรรดาญาติๆ ที่มาในงาน ที่เน้นมากคือข้าวสารและเงินส่วนของอื่นๆ ที่นำมาเป็นของขวัญนั้นส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ รวมทั้งขนม
การแต่งงานกับเทพเจ้า Suvarna Kumar Kandayan นั้นเพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ แต่ที่สำคัญนั้นก็คือการป้องกันหญิงสาวจากการเป็นม่าย ในสังคมฮินดูยุคโบราณนั้นเมื่อสามีตายลง หญิงสาวต้องตายตามสามีไปด้วย แต่พิธีนี้ถือว่าหญิงสาวได้แต่งงานกับเทพเจ้าแล้ว ซึ่งเทพเจ้านั้นมีชีวิตนิรันดร์ เธอจึงไม่จำเป็นต้องตายตามสามีที่เป็นมนุษย์ และยังลบล้างความเชื่อเรื่องการที่ต้องแต่งงานหนเดียวอีกด้วย เพราะกว่าจะแต่งกับคนจริงๆ ก็เป็นหนที่สามแล้ว
วันนี้ฉันรู้สึกค่อนข้างเพลียเพราะพลังแอ้ปเปิ้ลที่กินไปเมื่อเช้าได้หมดลงแล้ว จึงขอตัวไปเที่ยวที่เจดีย์โบธนาถ ซึ่งจูเกชได้ให้รถไปส่งพร้อมกับบอดี้การ์ดสามคน คือคนขับรถ คีริต และอาจิ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น