เราเป็นแขกรายแรกที่ไปถึง แม่ครัวชาวญี่ปุ่นกับผู้ช่วยสาวต่างกุลีกุจอพาเราไปนั่งยังโต๊ะอาหารซึ่งเขาจัดอาหารไว้เป็นชุดๆ สำหรับแต่ละคน มีหม้อต้มเต้าหู้อยู่ตรงกลาง อาหารเช้าแบบญี่ปุ่นประกอบไปด้วยจานหลักคือข้าวกับปลาแซลมอนย่างพร้อมเครื่องเคียงหลายอย่างและซุปเต้าหู้สาหร่าย น้องสาวผู้ช่วยแม่ครัวใหญ่จุดเตาต้มเต้าหู้พร้อมบอกวิธีการกินคือต้องรอให้น้ำเดือดก่อนแล้วใช้ทัพพีตักเต้าหู้มาใส่ในถ้วยที่มีซีอ้ิวและต้นหอมซอยละเอียดเพื่อเพิ่มรสชาติ เต้าหู้ที่เกียวโตค่อนข้างมีชื่อเสียงว่าอร่อยเด็ดเพราะเป็นเมืองที่มีน้ำแร่เยอะเหมาะกับการทำเต้าหู้ และเนื่องจากเป็นเมืองที่มีวัดมากมาย จึงมีผู้บริโภคมากนั่นก็คือพระซึ่งไม่ทานเนื้อสัตว์จึงทานเต้าหู้เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนทดแทน คุณสามารถหาทานได้ตามร้านอาหารทั่วไปโดยเฉพาะร้านที่อยู่แถวๆ วัดใหญ่ๆ ฤดูหนาวเป็นฤดูที่คนญี่ปุ่นนิยมทานเต้าหู้ที่สุด เพราะฤดูเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองที่ใช้ทำเต้าหู้นั้นคือช่วงเดือนตุลาคม กว่าจะตากจนแห้งและมาทำเต้าหู้ก็ราวๆ
เดือมกราคม ความที่ชอบเต้าหู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วฉันเลยซัดเข้าไปถึงสามก้อนใหญ่ นี่ถ้าไม่เกรงใจท้องตัวเองคงได้สวาปามเข้าไปอีกแน่ๆ เต้าหู้ที่นี่แตกต่างจากที่ฉันเคยทานที่เมืองไทย รสชาติกลมกล่อม ผิวเรียบเนียนนกล่ินหอมอ่อนๆ เพิ่มอรรถรสในการกินได้อย่างมาก
เดือมกราคม ความที่ชอบเต้าหู้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วฉันเลยซัดเข้าไปถึงสามก้อนใหญ่ นี่ถ้าไม่เกรงใจท้องตัวเองคงได้สวาปามเข้าไปอีกแน่ๆ เต้าหู้ที่นี่แตกต่างจากที่ฉันเคยทานที่เมืองไทย รสชาติกลมกล่อม ผิวเรียบเนียนนกล่ินหอมอ่อนๆ เพิ่มอรรถรสในการกินได้อย่างมาก
“เอ่อ … โออิชิ” ฉันเอ่ยปากชมรสอาหารอันโอชะกับคุณแม่ครัว เธอยิ้มจนตาเป็นเส้น โค้งตัวแล้วโค้งอีกหลายรอบจนส่งเราออกจากห้องอาหาร คนที่ชอบทำอาหารมักจะดีใจเสมอถ้าคนชมรสมือเรา จะยิ่งดีใจเข้าไปใหญ่ถ้าเขาทานจนหมดเกลี้ยง ว่าแล้วก็ตบพุงตัวเองเบาๆ
เสียดายวันรุ่งขึ้นห้องครัวจะถูกปิดลงเพื่อซ่อมแซม เราจึงต้องฝากท้องไว้กับอาหารเช้าจานด่วนจากร้านสะดวกซื้อ
เราเดินไปยังสถานีเกียวโตเพื่อจับรถไฟ JR ไปนาราเมืองหลวงแห่งแรกของญี่ปุ่นและศูนย์กลางศาสนาพุทธ ใช้เวลาเดินทางแค่ 45 นาที ก็ถึงสถานีนารา ที่แรกที่เราจะแวะก็คือ
วัดคุฟุคุจิ (Kufukuji temple) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองนารา แต่จริงๆ แล้วตอนเร่ิมสร้างนั้นตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต แล้วถึงย้ายมาที่ปัจจุบันเมื่อนารากลายเป็นเมืองหลวง
ในปี ค.ศ 710 ในสมัยก่อนมีวัดอยู่ในบริเวณมากถึง 175 วัด แต่ตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่วัด ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นเจดีย์ห้าชั้นที่สูงถึง 50 เมตร วัดอื่นๆ ในบริเวณนั้นเป็นที่เก็บสมบัติโบราณ เช่น รูปปั้นพระพุทธรูปสำคัญๆ งานศิลปะในยุคโบราณ แต่สิ่งที่ผู้คนชื่นชอบทำอีกหนึ่งกิจกรรมเวลามาเที่ยวที่นี่ก็คือการเลี้ยงกวาง ซึ่งจะถูกปล่อยให้ใช้ชีวิตอย่างอิสระเดินปะปนกับผู้คน เพราะกวางถือเป็นผู้ถือสารจากพระเจ้า ส่วนใหญ่จะเชื่องและคุ้นเคยกับผู้คนเป็นอย่างดี ฉันเห็นว่ามันดูน่ารักดีแถมยังส่งสายตาใสซื่ออ้อนก็เลยไปซื้อขนมเซมเป้ราคา 150 เยน มาป้อนให้ แต่ปรากฏว่าฉันกลับถูกต้อนโดยฝูงกวาง บางตัวเอาจมูกมาชนฉันเพื่ออ้อนขอขนม บางตัวก็ชนกันเองเพื่อแย่งกันกินฉันตกใจเล็กน้อยเพราะไม่ค่อยคุ้นเคยกับสัตว์ชนิดนี้ เลยร้องกรี้ดกร้าดยืนตัวแข็ง กลัวกวางจะกัดเอา เป็นที่ขบขันของผู้คนรอบข้าง
วัดคุฟุคุจิ (Kufukuji temple) ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองนารา แต่จริงๆ แล้วตอนเร่ิมสร้างนั้นตั้งอยู่ที่เมืองเกียวโต แล้วถึงย้ายมาที่ปัจจุบันเมื่อนารากลายเป็นเมืองหลวง
ในปี ค.ศ 710 ในสมัยก่อนมีวัดอยู่ในบริเวณมากถึง 175 วัด แต่ตอนนี้เหลือเพียงไม่กี่วัด ที่เด่นที่สุดเห็นจะเป็นเจดีย์ห้าชั้นที่สูงถึง 50 เมตร วัดอื่นๆ ในบริเวณนั้นเป็นที่เก็บสมบัติโบราณ เช่น รูปปั้นพระพุทธรูปสำคัญๆ งานศิลปะในยุคโบราณ แต่สิ่งที่ผู้คนชื่นชอบทำอีกหนึ่งกิจกรรมเวลามาเที่ยวที่นี่ก็คือการเลี้ยงกวาง ซึ่งจะถูกปล่อยให้ใช้ชีวิตอย่างอิสระเดินปะปนกับผู้คน เพราะกวางถือเป็นผู้ถือสารจากพระเจ้า ส่วนใหญ่จะเชื่องและคุ้นเคยกับผู้คนเป็นอย่างดี ฉันเห็นว่ามันดูน่ารักดีแถมยังส่งสายตาใสซื่ออ้อนก็เลยไปซื้อขนมเซมเป้ราคา 150 เยน มาป้อนให้ แต่ปรากฏว่าฉันกลับถูกต้อนโดยฝูงกวาง บางตัวเอาจมูกมาชนฉันเพื่ออ้อนขอขนม บางตัวก็ชนกันเองเพื่อแย่งกันกินฉันตกใจเล็กน้อยเพราะไม่ค่อยคุ้นเคยกับสัตว์ชนิดนี้ เลยร้องกรี้ดกร้าดยืนตัวแข็ง กลัวกวางจะกัดเอา เป็นที่ขบขันของผู้คนรอบข้าง
หลังจากนั้นเราเดินต่อไปยังวัดโทไดจิ (Todaiji temple) แค่เสาประตูไม้ตรงทางเข้าทางด้านใต้ (Nandaimon) ก็อลังการมากๆ ยิ่งใหญ่สมเป็นวัดที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนารา ผ่านเข้าไปภายในบริเวณวัดนั้นฉันถึงกับทึ่งในความย่ิงใหญ่และสวยงามของตัวโบสถ์ที่ทำจากไม้ทั้งหมดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นี่ขนาดว่าสร้างใหม่เพียง 2/3 ของขนาดจริงเมื่อสร้างครั้งแรก ด้านหน้าก่อนบริเวณทางเข้ามีรูปแกะสลักทำจากไม้ของท่าน พินโดรา (Pindora) หรือ
บินซูรุ (Binzuru) ซึ่งเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าขอร้องให้อยู่ต่อบนโลกเพื่อที่จะเผยแพร่ธรรมะ คนทั่วไปเชื่อกันว่าท่านมีพลังอำนาจในการรักษาเยียวยาอาการป่วย เพราะงั้นรูปปั้นของท่านจึงชำรุดเป็นจุดๆ เพราะคนนิยมมาลูบคลำตรงบริเวณที่ตัวเองมีอาการเจ็บป่วย สำหรับรูปแกะสลักไม้ที่อยู่ที่วัดโทไดจินี้ได้ถูกคลุมด้วยผ้าสีแดงและหมวกลักษณะเดียวกับหมวกทารกเพราะผู้คนเชื่อกันว่าท่านจะช่วยคุ้มครองอาการป่วยของเด็กๆ
บินซูรุ (Binzuru) ซึ่งเป็นหนึ่งในพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าขอร้องให้อยู่ต่อบนโลกเพื่อที่จะเผยแพร่ธรรมะ คนทั่วไปเชื่อกันว่าท่านมีพลังอำนาจในการรักษาเยียวยาอาการป่วย เพราะงั้นรูปปั้นของท่านจึงชำรุดเป็นจุดๆ เพราะคนนิยมมาลูบคลำตรงบริเวณที่ตัวเองมีอาการเจ็บป่วย สำหรับรูปแกะสลักไม้ที่อยู่ที่วัดโทไดจินี้ได้ถูกคลุมด้วยผ้าสีแดงและหมวกลักษณะเดียวกับหมวกทารกเพราะผู้คนเชื่อกันว่าท่านจะช่วยคุ้มครองอาการป่วยของเด็กๆ
เมื่อเข้าไปด้านในจะเห็นพระพุทธรูปไดบุตสึ (Daibutsu) องค์ใหญ่มากสูงถึง 30 เมตร
และทำจากทองสัมฤทธิ์และทองแดง และเนื่องมาจากขนาดที่ใหญ่โตทำให้พระเศียรนั้นหักพังลงหลายครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ด้านข้างซ้ายและขวามีรูปแกะสลักของพระโพธิสัตว์ เมื่อเดินอ้อมไปยังด้านหลังจะเห็นคนยืนมุงเสาๆ หนึ่งซึ่งถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตของการมาที่โทไดจิ นั่นก็คือการลอดช่องเล็กๆที่ถูกเจาะไว้ด้านล่างของเสา เชื่อกันว่าถ้าใครสามารถลอดผ่านได้ก็ถือเป็นการันตีการไปสู่สวรรค์ในที่สุด ฉันเลยรีบเดินผ่านไปในทันใด เพราะเกรงว่าถ้าเกิดติดกลางทางล่ะก็ นอกจากจะอายแล้วยังคงเสียขวัญ เอาไว้ทำบุญเยอะๆ กว่านี้หน่อยแล้วจะกลับมาลอด
และทำจากทองสัมฤทธิ์และทองแดง และเนื่องมาจากขนาดที่ใหญ่โตทำให้พระเศียรนั้นหักพังลงหลายครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ด้านข้างซ้ายและขวามีรูปแกะสลักของพระโพธิสัตว์ เมื่อเดินอ้อมไปยังด้านหลังจะเห็นคนยืนมุงเสาๆ หนึ่งซึ่งถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตของการมาที่โทไดจิ นั่นก็คือการลอดช่องเล็กๆที่ถูกเจาะไว้ด้านล่างของเสา เชื่อกันว่าถ้าใครสามารถลอดผ่านได้ก็ถือเป็นการันตีการไปสู่สวรรค์ในที่สุด ฉันเลยรีบเดินผ่านไปในทันใด เพราะเกรงว่าถ้าเกิดติดกลางทางล่ะก็ นอกจากจะอายแล้วยังคงเสียขวัญ เอาไว้ทำบุญเยอะๆ กว่านี้หน่อยแล้วจะกลับมาลอด
ถัดไปเราไปยังวัดคาซูกะ (Kasuga) ซึ่งเป็นวัดชินโต ระหว่างทางเดินไปนั้นแวดล้อมด้วยป่ามีต้นไม้ขึ้นรกครึ้มบรรยากาศสบายและสงบดี ให้เราเตรียมพร้อมในการสวดมนต์ วัดนี้มีจุดเด่นคือตะเกียงที่รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ในปัจจุบันจะจุดเฉพาะช่วงที่มีเทศกาล ถ้าเจอทางเดินที่มีตะเกียงหินอยู่สองข้างทางก็มั่นใจได้เลยว่ามาถูกทางแล้ว ตัวศาลเจ้านั้นจะรื้อและสร้างใหม่ทุกๆ 20 ปี ตามหลักการของศาสนาชินโต ซึ่งสืบทอดประเพณีนี้มาจนถึงปัจจุบัน
ระหว่างทางเดินกลับไปยังสถานีรถไฟนั้นมีวัดเล็กๆ อีกหลายวัดที่สามารถแวะดูได้ตามความชอบ แต่ส่วนใหญ่ต้องเสียเงินบำรุงเป็นค่าเข้าชม
หลังจากทานข้าวเที่ยงเสร็จและมุ่งหน้ากลับ ฉันเหลือบไปเห็นคุณลุงคนหนึ่งกำลังพยายามเข็นจักรยานขึ้นเนิน (เพราะคงขี่ไม่ไหว) โดยมีรถยนต์จอดด้านหลังรอให้แกเข็นเลยไปแล้วถึงจะแล่นต่อได้สภาพแกน่าสงสารมากเพราะอายุมากแล้ว ตัวผอมบาง กว่าจะขยับได้ก้าวหนึ่งต้องใช้เวลานานมาก ฉันเลยเดินเข้าไปอาสาช่วยเข็นจักรยานให้ คว้าแฮนด์ปุ๊บก็เข็นไปด้านหน้าทันที กะว่าจะไปจอดไว้ด้านบนให้แกมาขี่ต่อ ปรากฏว่าแกก็ยืนเฉยๆ ไม่ยอมขยับไปไหน แถมพูดอะไรไม่รู้ ไม่รู้เรื่อง เมื่อใช้สมองอันน้อยนิด วิเคราะห์ก็เพิ่งเข้าใจว่า แกเดินเองไม่ได้ ต้องมีจักรยานเป็นตัวช่วยเพื่อขยับไปด้านหน้า ฉันเลยต้องเข็นจักรยานกลับมาใหม่ให้แกจับ แล้วก็เข็นทั้งรถทั้งคนไปพร้อมๆ กัน เมื่อไปถึงด้านบนเนินแกก็ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่พูดภาษาญี่ปุ่นสวนมา เดาว่าแกคงขอบอกขอบใจที่ช่วยเข็นจักรยานให้
นึกแล้วก็อดสงสารไม่ได้ แก่ป่านนี้แล้วน่าจะอยู่บ้านสบายๆ ไม่รู้ว่าตอนนี้แกจะเข็นจักรยานอยู่แถวเดิมอีกรึเปล่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น