วัดทอง (Golden Temple ) เป็นวัดพุทธที่มีชื่อเสียงมากวัดหนึ่ง เป็นวัดที่บูชาพระศากยมุนี (แต่เขาห้ามถ่ายรูป) ด้านหน้าทางเข้ามีรูปปั้นสิงโตอยู่และเมื่อเข้าไปถึงด้านในก็จะมีบริเวณพื้นที่ตรงกลางที่มีไว้สำหรับผู้ที่มาสวดมนต์ทำพิธีต่างๆ ซึ่งบริเวณนี้ห้ามใส่รองเท้าหรือเครื่องแต่งกายที่เป็นหนังผ่านลงไป อันนี้ไม่มีปัญหาเพราะเราเตรียมตัวมาอย่างดี ตรงบริเวณรอบๆ นั้นเป็นแบ่งเป็นห้องๆ มีพระพุทธรูป พระแม่ตาราและรูปวาดแบบทิเบตแสดงถึงศิลปะโบราณที่สวยงามมาก รอบๆ มีกงล้อมนตราเรียงรายให้ได้หมุนทำสมาธิสวดมนต์กันตามอัธยาศัย มุมทั้งสี่ของวัดนั้นมีรูปปั้นลิงถือผลขนุนซึ่งเป็นของที่ลิงทั้งสี่ตัวถวายให้แก่พระศากยมุนี เราสามารถเดินขึ้นไปชมบริเวณชั้นสองได้ด้วย ซึ่งก็จะได้เห็นวิวของตัววัด
จากอีกมุมหนึ่ง วัดมีหลังคาสามชั้นและเป็นสีทอง ไม่แน่ใจว่าเป็นทองจริงรึเปล่า
จากอีกมุมหนึ่ง วัดมีหลังคาสามชั้นและเป็นสีทอง ไม่แน่ใจว่าเป็นทองจริงรึเปล่า
เราไปถึงวัดตอนประมาณตีสี่ครึ่งซึ่งถือว่าเช้ามากสำหรับเรา แต่ในตอนนั้นก็มีกลุ่มคนมานั่งสวดมนต์อยู่นานแล้วส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ เขานั่งกันบนพื้นตรงบริเวณด้านหน้าตัววัดเพื่อรอเวลาที่เณร 2 รูปซึ่งเป็นพี่น้องกันจะออกมาทำพิธี ทั้งสองเป็นผู้เฝ้าดูแลและทำพิธีสวดมนต์ในตอนเช้า ซึ่งรับหน้าที่นี้ประมาณ 30 วัน และหลังจากนั้นก็จะผลัดเปลี่ยนให้เณรรูปอื่นมาดูแล เรารออยู่ไม่นานนักเณรทั้งสองก็ออกมาสวดมนต์ นำกระจกที่ไปส่องหน้าเทพเจ้าและยื่นให้คนที่มารอได้ดู เพื่อได้พบเจอและเห็นแต่สิ่งดีๆ และโปรยข้าวสาร น้ำมนต์เสกแก่คนที่อยู่รอบๆ วัดทองนี้เป็นวัดที่ได้รับความนิยมจากชาวพื้นเมืองมาก ทุกๆ วันจะมีคนมากราบไหว้พระเป็นจำนวนมาก นับเป็นประสบการณ์แปลกใหม่สำหรับเรา
หลังจากนั้นเราก็เดินไปยังบริเวณใกล้ๆ เพื่อดูแหล่งน้ำธรรมชาติโบราณที่ชาวพื้นเมืองเขามารองไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการชำระล้าง ดื่มกิน อาบน้ำ ทำอาหาร ฯลฯ น้ำนั้นดูใสสะอาดและไหลออกมาจากทางน้ำไหล ชาวพื้นเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงก็จะถือคนโททำจากทองเหลืองมารองน้ำเพื่อนำกลับไปใช้ที่บ้าน บางคนก็ยืนแปรงฟันล้างหน้ากันตรงนั้นเลยแบบไม่ต้องอายใครเพราะเป็นเรื่องธรรมชาติของคนที่นั่น ไม่มีใครทราบว่าแหล่งน้ำมาจากที่ไหน แต่เชื่อกันว่าเป็นน้ำที่สะอาดสามารถไปนำไปใช้ดื่มกินได้ (สำหรับคนพื้นเมืองเท่านั้น ถ้านักท่องเที่ยวอย่างเราดื่มเข้าไป อาจท้องเสาะได้ เพราะแต่ละที่ก็มีแบคทีเรียต่างชนิดกัน ท้องของคนท้องถิ่นเค้าชินแล้วแต่ท้องชาวต่างชาติอาจยังไม่รู้จักแบคทีเรียชนิดที่อาศัยอยู่ที่เนปาล เพราะฉะนั้นอย่าเสี่ยงดื่มน้ำที่ยังไม่ผ่านการต้มและฆ่าเชื้่อโรค) ฉันแอบสงสัยในใจเหมือนกันว่าถ้าวันหนึ่งน้ำหยุดไหลคนที่นั่นเค้าจะทำยังไงกัน
เราเดินต่อไปยังวัด “กัมเบชวอ” (Kumbeshwar) ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่มากวัดหนึ่ง และยังเป็นหนึ่งในสามของวัดในหุบเขากาฐมาณฑุที่มีสถาปัตยกรรมแบบเนวาร์ที่มีหลังคาห้าชั้นและมีรูปแกะสลักไม้สวยงามมาก วัดนี้เป็นวัดที่บูชาพระศิวะโดยที่สังเกตง่ายๆ ว่ามีรูปปั้นวัวอยู่ด้านหน้าวัด เราเจอกับพราหมณ์รูปงามที่บังเอิญว่าเป็นรูปเดียวกับที่พี่ธันวาเคยเชิญมาประกอบพิธีแต่งงานให้เด็กหญิงกับลูกพลับที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก พี่ธันวาเลยถือโอกาสไปทักทายท่านโดยที่มีเราแอบถ่ายรูปไว้
หลังจากนั้นเราก็เดินไปยังบริเวณใกล้ๆ เพื่อดูแหล่งน้ำธรรมชาติโบราณที่ชาวพื้นเมืองเขามารองไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการชำระล้าง ดื่มกิน อาบน้ำ ทำอาหาร ฯลฯ น้ำนั้นดูใสสะอาดและไหลออกมาจากทางน้ำไหล ชาวพื้นเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงก็จะถือคนโททำจากทองเหลืองมารองน้ำเพื่อนำกลับไปใช้ที่บ้าน บางคนก็ยืนแปรงฟันล้างหน้ากันตรงนั้นเลยแบบไม่ต้องอายใครเพราะเป็นเรื่องธรรมชาติของคนที่นั่น ไม่มีใครทราบว่าแหล่งน้ำมาจากที่ไหน แต่เชื่อกันว่าเป็นน้ำที่สะอาดสามารถไปนำไปใช้ดื่มกินได้ (สำหรับคนพื้นเมืองเท่านั้น ถ้านักท่องเที่ยวอย่างเราดื่มเข้าไป อาจท้องเสาะได้ เพราะแต่ละที่ก็มีแบคทีเรียต่างชนิดกัน ท้องของคนท้องถิ่นเค้าชินแล้วแต่ท้องชาวต่างชาติอาจยังไม่รู้จักแบคทีเรียชนิดที่อาศัยอยู่ที่เนปาล เพราะฉะนั้นอย่าเสี่ยงดื่มน้ำที่ยังไม่ผ่านการต้มและฆ่าเชื้่อโรค) ฉันแอบสงสัยในใจเหมือนกันว่าถ้าวันหนึ่งน้ำหยุดไหลคนที่นั่นเค้าจะทำยังไงกัน
เราเดินต่อไปยังวัด “กัมเบชวอ” (Kumbeshwar) ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่มากวัดหนึ่ง และยังเป็นหนึ่งในสามของวัดในหุบเขากาฐมาณฑุที่มีสถาปัตยกรรมแบบเนวาร์ที่มีหลังคาห้าชั้นและมีรูปแกะสลักไม้สวยงามมาก วัดนี้เป็นวัดที่บูชาพระศิวะโดยที่สังเกตง่ายๆ ว่ามีรูปปั้นวัวอยู่ด้านหน้าวัด เราเจอกับพราหมณ์รูปงามที่บังเอิญว่าเป็นรูปเดียวกับที่พี่ธันวาเคยเชิญมาประกอบพิธีแต่งงานให้เด็กหญิงกับลูกพลับที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านั้นไม่นานนัก พี่ธันวาเลยถือโอกาสไปทักทายท่านโดยที่มีเราแอบถ่ายรูปไว้
สรุปว่าในเวลาช่วงเช้าวันนี้เราเน้นเที่ยววัดกัน วัดพุทธก่อนแล้วก็วัดฮินดู แต่ถ้าเราไม่สังเกตดีๆ ก็อาจจะงงได้ว่าวัดไหนเป็นวัดของศาสนาไหนกันแน่ เพราะถ้าให้แยกตามสถาปัตยกรรมก็แยกไม่ออกเพราะคล้ายกันมาก ถ้าให้แยกตามคนที่มาวัดก็ยิ่งแยกไม่ออกใหญ่ แต่ก็คงไม่แปลกหรอกเพราะอย่างที่บอกว่าที่เนปาลนั้นศาสนาพุทธและฮินดูอยู่กันอย่างกลมเกลียว วัดพุทธมีเทวรูปฮินดู วัดฮินดูบางวัดก็มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ฉันว่าเป็นการอยู่ร่วมกันได้อย่างลงตัวและมีความสุขดี จิตใจคนที่นี่ล้วนมีศรัทธาและสิ่งยึดเหนี่ยวให้กับชีวิต
คนเราทุกคนคงต้องมีความเชื่อในอะไรบางอย่าง เพื่อให้ชีวิตมีความหวัง ...
คนเราทุกคนคงต้องมีความเชื่อในอะไรบางอย่าง เพื่อให้ชีวิตมีความหวัง ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น