พาฮาลแกม (Pahalgam) เป็นเมืองท่องเที่ยวอีกหนึ่งเมืองของแคชเมียร์
ซึ่งอยู่ห่างจากศรีนาการ์ไปประมาณ 96 กิโลเมตร ใช้เวลานั่งรถประมาณ 2 ชั่วโมง เวลานัดหมายในการออกเดินทางสำหรับเช้าวันนนี้คือ
8 โมงกว่าๆ ได้นอนเต็มอ่ิมสบายๆ หลังจากที่ต้องตื่นก่อนนกและไก่มาหลายวัน เราตั้งใจว่าจะทานอาหารเช้าตอน
7 โมงครึ่ง แต่เมื่อเวลาเดินเลยเลข 7 ไปแป้บเดียวดินก็มาเคาะห้องถามว่าฉันตื่นรึยัง
“เราต้องออกจากเรือเร็วขึ้นวันนี้
เพราะช่วงเช้ามีเคอร์ฟิว” เขาประกาศ
นั่นไง
เจอเข้าแล้ว
ฉันรีบแต่งตัวและออกมาทานอาหารเช้า
นฐกับพี่ลีตามมาในอีกไม่นาน อาหารเช้า
ดูน่าทานมาก มีขนมปังปิ้ง พร้อมแยม น้ำผึ้ง กล้วยหอม ชากาแฟ และตบท้ายด้วย “ข้าวต้ม” กับ “ไข่เจียว” เอาใจคนไทยสุดๆ ไม่อยากจะบอกเลยว่าพ่อครัวที่นี่ทอดไข่เจียวได้เหมือน
คนไทยทอดมาก ทั้งหนานุ่มเนียนรสชาติเค็มกำลังดี เหยาะซอสปรุงรสอีกหน่อยอร่อยน้ำตาแทบไหล ส่วนใหญ่เวลาสั่งไข่เจียวในต่างประเทศนั้นไม่เคยได้เหมือนอย่างใจซักที บางทีก็แบนแต๊ด บางทีไข่ขาวกับไข่แดงก็ไม่ปรองดองกันหน้าตาเลยออกมาเหมือนไข่ลายมากกว่า อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมที่นี่ฝึกพ่อครัวมาดีจังมัดใจลูกค้าอยู่หมัดเลย ก็สำหรับคนไทยเราเนี่ย “เรื่องกิน…เรื่องใหญ่”
ดูน่าทานมาก มีขนมปังปิ้ง พร้อมแยม น้ำผึ้ง กล้วยหอม ชากาแฟ และตบท้ายด้วย “ข้าวต้ม” กับ “ไข่เจียว” เอาใจคนไทยสุดๆ ไม่อยากจะบอกเลยว่าพ่อครัวที่นี่ทอดไข่เจียวได้เหมือน
คนไทยทอดมาก ทั้งหนานุ่มเนียนรสชาติเค็มกำลังดี เหยาะซอสปรุงรสอีกหน่อยอร่อยน้ำตาแทบไหล ส่วนใหญ่เวลาสั่งไข่เจียวในต่างประเทศนั้นไม่เคยได้เหมือนอย่างใจซักที บางทีก็แบนแต๊ด บางทีไข่ขาวกับไข่แดงก็ไม่ปรองดองกันหน้าตาเลยออกมาเหมือนไข่ลายมากกว่า อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมที่นี่ฝึกพ่อครัวมาดีจังมัดใจลูกค้าอยู่หมัดเลย ก็สำหรับคนไทยเราเนี่ย “เรื่องกิน…เรื่องใหญ่”
เราพร้อมออกเดินทางก่อนเวลา 8 โมง นั่งเรือ กระโดดขึ้นรถ
แล้วออกเดินทางอย่างเร็วประหนึ่งสายลมพร้อมรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ หวังว่าคงไม่มี พรก ฉุกเฉินตามมาอีกนะตามถนนหนทางที่เราผ่านไปนั้นเต็มไปด้วยตำรวจแต่งชุดเตรียมพร้อม มีอาวุธครบมือ พร้อมโล่ป้องกัน ดูหน้าตาจริงจังขึงขังมาก เราถูกหยุดตรงด่านหนึ่งตำรวจถามดีนสองสามคำถามว่าเรามาจากไหนและกำลังจะเดินทางไปไหนกัน แต่ไม่ได้ตรวจตราอะไรมากมาย คงเห็นหน้าเราซื่อๆ
ไม่น่ามีพิษภัยอะไร ฉันคิดทบทวนถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่กรุงเทพเมื่อตอนต้นปีครั้งไหนก็รู้สึกเสียใจและหวาดผวาทุกครั้ง
ไม่รู้ว่าคนที่นี่จะรู้สึกอย่างเดียวกันรึเปล่า หรือว่าเขารู้สึกชินจนด้านชาซะแล้ว
ถนนที่ออกไปนอกเมืองนั้นราบเรียบไม่มีสะดุ้งสะเทือนเหมือนอาทิตย์ที่ผ่านมา
วิวทิวทัศน์นั้นสวยงามเต็มไปด้วยต้นไม้เขียวครึ้ม มีนาข้าวสีเขียวสด เค้าบอกกันว่าเราควรมองไกลๆ ไปยังธรรมชาติที่เป็นสีเขียวบ้างไม่ใช่จ้องแต่จอคอมพิวเตอร์อย่างเดียว ตาจะได้หยุดพักผ่อนบ้าง และแล้วเราก็ไปถึงพาฮาลแกม สถานที่ตากอากาศในหน้าร้อนและท่องเที่ยวในหน้าหนาว
แคชเมียร์ได้เปรียบลาดัคห์เรื่องอากาศที่ไม่หนาวเย็นเกินไปและสภาพแวดล้อมที่มีภูเขาเขียวชะอุ่มทำให้ท่องเที่ยวได้ทั้งหน้าร้อนและหน้าหนาว แต่ช่วงหน้าร้อนมีกิจกรรมให้ทำเยอะกว่า ไม่ว่าจะเป็นล่องแก่ง
ตกปลา เดินป่า ขี่ม้า หรือไต่เขา เผอิญว่าเรามาในช่วงคาบเกี่ยว จะร้อนก็ไม่ใช่หนาวก็ไม่เชิง ฝนก็ไม่มี หิมะก็ไม่มา ก็เลยงงๆ
ว่าจะทำอะไรดี
รถไปแวะพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งซึ่งเป็นจุดหยุดพักสำหรับทานข้าวกลางวันในวันนี้
โรงแรมนี้อยู่ติดกับลำธารสายเล็ก สองข้างทางเป็นต้นไม้ใหญ่ วิวสวยทีเดียว ระหว่างที่รอทานอาหารกลางวันเราตัดสินใจว่าจะเช่าม้าขี่ไปบนภูเขากันโดยเช่าจากชาวบ้านแถวๆ นั้น สนนราคา 500 รูปี ซึ่งจะพาไปแวะดูวิว 3 จุด ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง
ถ้าไปน้อยกว่านั้นก็ถูกลง แต่ไหนๆ เราก็ไม่มีอะไรทำไปมากกว่านั้นอยู่แล้ว ไปอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติน่าจะดีกว่า
คนจูงม้าเดินพาเราไปตามถนนเล็กๆ ที่ทอดตัวสู่ป่าใหญ่ ด้านหน้า เราต้องผ่านหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งเพื่อขึ้นไปบนเขาซึ่งทางค่อนข้างทุลักทุเลและชัน
บางทีม้าก็สะดุดหินเกือบล้มหน้าคว่ำ ทำเอาเราใจหาย แต่ก็สนุกดี สำหรับการขี่ม้าครั้งแรกนั้นทำให้รู้สึกตื่นเต้นและเกร็งนิดหน่อย เราค่อยๆ ไต่เขาขึ้นไปเรื่อยๆ เข้าไปในป่าที่แวดล้อมไปด้วยต้นสนหลากชนิด ใบใหญ่ใบเล็ก ได้กลิ่นความสดชื่น สูดออกซิเจนได้เต็มปอด
ใช้เวลาอยู่บนเขาท่ามกลางต้นไม้ใหญ่ซักพักเราก็กลับลงมาด้านล่าง ไม่อยากจะบอกเลยว่าก้นระบมและเมื่อยขาพอสมควรทีเดียว
ชายเจ้าของม้าเรียกร้องทิปจากเราทั้งๆ
ที่เราจ่ายค่าขี่ม้าไปแล้ว 1,500 รูปี แต่เขาก็ยังต้องการเงินเพ่ิมอีก เราจึงรวบรวมให้ไปอีกเล็กน้อย เขาก็ยังต่อรองอีกว่าต้องการทิปจากทุกคน เราเลยใช้มุกเดินหนี
ก็ไม่รู้ว่ามันเป็นธรรมเนียมหรือความเคยชินกันแน่ที่เขาต้องเรียกร้องเงินจากนักท่องเที่ยวขนาดนี้ มันดูไม่น่ารักเอาซะเลย
อาหารกลางวันมื้อนี้เขาอ้างว่าเป็นอาหารจีน
แต่จากหน้าตาและรสชาติที่ได้สัมผัส
น่าจะเป็นลูกครึ่งมากกว่า รสชาติประหลาดล้ำเพราะทุกจานต่างพากันระดมใส่เครื่องเทศแบบอาหารแขกหมด
น่าจะเป็นลูกครึ่งมากกว่า รสชาติประหลาดล้ำเพราะทุกจานต่างพากันระดมใส่เครื่องเทศแบบอาหารแขกหมด
ขากลับเราแวะวัดฮินดูแห่งหนึ่ง
ดีนไม่ได้เข้าไปภายในบริเวณวัดด้วยแต่รออยู่ด้านนอก คนมุสลิมค่อนข้างเคร่งครัดกับเรื่องนี้มาก
บริเวณด้านหน้าวัดนั้นมีบ่อปลาใหญ่มาก
ซึ่งเขาบอกว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ห้ามตก พอเดินเข้าไปในรั้วก็มีคนเฝ้าวัดนุ่งขาวห่มขาวออกมาต้อนรับ พาเดินดูด้านในตัววัด อธิบายเกี่ยวกับเทพเจ้านิดหน่อย
เราควักเงินใส่กล่องทำบุญกัน
“คุณไม่คิดจะทำบุญให้ผมบ้างเหรอ
ผมเป็นคนเฝ้าวัดที่นี่ไม่มีรายได้อะไร”
เรางงกันเล็กน้อยกับการขอแบบตรงไปตรงมา
แต่ก็เพื่อเป็นสินน้ำใจที่เขาเล่านู่นเล่านี่ให้ฟัง เลยควานหาเงินกันยกใหญ่ รวบรวมได้แค่ยี่สิบกว่ารูปี
เพราะไม่มีแบ้งค์ย่อยแล้ว
“คุณมาจากไหนกันเหรอ”
เขาถาม
“เมืองไทยน่ะ”
เราตอบ
“เมืองไทยสวยนะ”
“ใช่
เมืองไทยสวยมากแล้วก็มีวัดฮินดูด้วย สักการะเทพเจ้าที่เป็นมเหสีของพระศิวะน่ะ ชื่ออะไรนะ เอ๊ะ ทำไมฉันจำไม่ได้นะวันนี้
… อีกชื่อหนึ่งของ Parvarti น่ะ“ ฉันลืมชื่อพระอุมาเทวีไปซะเฉยๆ สงสัยที่ผ่านมาสมองต้องจำชื่อพระพุทธเจ้าหลายองค์ไปหน่อย
RAM เลยหมด
“ท่านมีหลายชื่อครับ”
เขาบอก
“ใช่ๆ
มีหลายปางด้วยใช่มั้ย”
“ค่าตั๋วเครื่องบินไปเมืองไทยประมาณเท่าไหร่เหรอครับ”
เขาถามต่อ
“น่าจะประมาณ
14,000 – 20,000 รูปีนะ”
“โห
แพงขนาดนั้นเลยเหรอ ผมคงไม่มีปัญญาจะไป ทำไงได้ล่ะก็ผมต้องอยู่ที่นี่” เขากล่าวด้วยน้ำเสียงท้อแท้
หน้าตาเศร้าสร้อย
“นั่นสิ
ถ้าคุณไม่เฝ้าวัดแล้วใครจะมาทำหน้าที่แทนล่ะ” ฉันไม่อยากให้เขารู้สึกแย่มากเกินไป
หลังจากเดินชมวัดจนทั่วแล้วเราจึงออกเดินทางต่อ
หลังจากเดินชมวัดจนทั่วแล้วเราจึงออกเดินทางต่อ
รถแล่นต่อไปอีกซักพักก็หยุด
ตอนแรกเราใจหายแว้บนึกว่าดีนจะพาไปร้านประเภทหลอกขายนักท่องเที่ยวอีก แต่ที่แท้ เป็นร้านขายถั่วและผลไม้แห้ง
ไฮไลท์ของร้านนี้คือ
“แซฟฟรอน” (Saffron) สีแดงสด ถูกบรรจุอย่างดีในกล่องพลาสติก ซึ่งดีนสั่งประมาณ 25 กล่อง ฉันเห็นว่าราคาถูกมากก็เลยขอแจมเพื่อให้ได้ราคาเดียวกัน สนนราคากล่องละ 200 รูปี แต่ราคาเมื่อไปถึงผู้บริโภคแล้วค่อนข้างแพงมาก กิโลหนึ่งราคาอาจจะพุ่งขึ้นสูงถึงประมาณ 2,000 ดอลล่าห์ทีเดียว
“แซฟฟรอน” (Saffron) สีแดงสด ถูกบรรจุอย่างดีในกล่องพลาสติก ซึ่งดีนสั่งประมาณ 25 กล่อง ฉันเห็นว่าราคาถูกมากก็เลยขอแจมเพื่อให้ได้ราคาเดียวกัน สนนราคากล่องละ 200 รูปี แต่ราคาเมื่อไปถึงผู้บริโภคแล้วค่อนข้างแพงมาก กิโลหนึ่งราคาอาจจะพุ่งขึ้นสูงถึงประมาณ 2,000 ดอลล่าห์ทีเดียว
แซฟฟรอนปลูกมากในบริเวณแถบนี้โดยนำเกสรของดอกแซฟฟรอนมาอบแห้ง
ใช้เป็นเครื่องปรุงในการทำอาหาร บางทีก็ใช้ทำยาหรือใส่ในชา ลักษณะของแซฟฟรอนที่ดีต้องมีสีออกส้มอมแดงไม่ใช่สีเหลืองเหมือนที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วๆ
ไป แคชเมียร์เป็นหนึ่งใน
ดินแดนเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถปลูกแซฟฟรอนได้ ถือว่าได้ซื้อตรงจากผู้ผลิต สนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ณ จังหวัดศรีนาการ์
ดินแดนเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถปลูกแซฟฟรอนได้ ถือว่าได้ซื้อตรงจากผู้ผลิต สนับสนุนโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ณ จังหวัดศรีนาการ์
ตอนแรกเรากะว่าจะแวะอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ซักครู่เพราะเพ่ิงบ่ายต้นๆ
มีเวลาเหลือให้ฟุ่มเฟือยเอื่อยเฉื่อยอีกตั้งแยอะ แต่คงเป็นเพราะเรื่องเคอร์ฟิวทำให้ร้านค้าตรงบริเวณถนน
บูเลอวาร์ด (Boulevard Street) ด้านหน้าของท่าเรือนั้นพร้อมใจกันปิดบริการหมด เราจึงกลับไปยังบ้านเรือเพื่อพักผ่อนทำกิจกรรมชิลๆ
บูเลอวาร์ด (Boulevard Street) ด้านหน้าของท่าเรือนั้นพร้อมใจกันปิดบริการหมด เราจึงกลับไปยังบ้านเรือเพื่อพักผ่อนทำกิจกรรมชิลๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น