“อ๋อ
รู้จักครับ รู้สึกว่าฝรั่งเศสหรือเยอรมันนี่แหล่ะครับ”
นฐกับพี่ลีต่างเงี่ยหูฟัง
“ฉันดูนานหลายปีแล้ว
เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงสวยมากคนหนึ่งที่ไม่มีสะดือ ถูกโจรตามล่าและพระเอกก็มาช่วยไว้
เธอตายแล้วก็เกิดใหม่แล้วก็เจอชายคนรักอีก 2 ชาติ แต่รู้สึกว่าพระเอกจะเป็นอมตะหรือยังไงเนี่ยแหล่ะ
ฉากที่เค้าถ่ายหุบเขามันสวยงามมากเลย ยังติดอยู่ในความทรงจำของฉันอยู่เลย”
ภาพของลาดัคห์ในมุมมองจากหนังกระตุ้นให้ฉันต้องมาตามหาภาพๆ
นั้น ไม่แน่ใจว่าจะได้เจอในทริปนี้รึเปล่า
นั่งรถไปไม่ไกลนักก็ถึง “เจดีย์แห่งสันติภาพ”
(Shanti Stupa) ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่บนเนินเขาในย่านจังสปา (Changspa) เจดีย์นี้ถูกสร้างโดยกลุ่มนับถือศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่น
(The Japanese for world peace) เพื่อสนับสนุนสันติภาพในโลก เจดีย์มีอายุอานามไม่มากนักซึ่งองค์ดาไลลามะได้เสด็จมาเป็นประธานทำพิธีเปิดเมื่อปี
ค.ศ. 1985 รอบๆ เจดีย์มีรูปปั้นพระพุทธรูปทั้ง 4 ทิศ และรายรอบเจดีย์ก็มีรูปพระพุทธเจ้าสลักนูนอีกมากมาย เราเดินวนรอบเจดีย์ตามเข็มนาฬิกาในใจน่ิงทำสมาธิ
ณ เวลานั้นมีเพียงเราและหนุ่มสาวนักท่องเที่ยวชาวอินเดียอีกกลุ่มหนึ่งที่โพสต์ท่าถ่ายรูปกันอย่างสนุกสนาน
ส่งเสียงหัวเราะกิ๊กกั๊ก
ฉันสังเกตุเห็นภาษาฮินดีตรงบริเวณใกล้ๆ พระพุทธรูป
จึงถามนัมเกลว่าแปลว่าอะไร เขาอมยิ้มฝืนๆ เหมือนไม่อยากตอบ
“ห้ามปีนขึ้นไปยืนโพสต์ท่าถ่ายรูปกับพระพุทธรูป”
อันนี้คงทำไว้สำหรับนักท่องเที่ยวชาวอินเดียโดยเฉพาะ
วัฒนธรรม
ศาสนา ความเชื่อและพิธีกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นนั้น จริงๆ แล้วไม่น่าจะทำให้คนชาติเดียวกันมีข้อขัดแย้งกันได้หากแต่เป็นพฤติกรรมที่ไม่เคารพซึ่งกันและกันมากกว่า เพราะเรื่องบางเรื่องก็เปราะบางเข้าใจได้ยาก
บางครั้งบางหนเลยก่อให้เกิดอาการขัดตาขัดใจได้ ถ้ารักที่จะอยู่ร่วมกันก็ต้องให้เกียรติกัน
อินเดียมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล
มีวัฒนธรรมและการนับถือศาสนาที่หลากหลาย แค่แคว้นจัมมูและแคชเมียร์แคว้นเดียวก็มีการนับถือศาสนาในแต่ละท้องถ่ินต่างกันไป จัมมูคือฮินดู แคชเมียร์คืออิสลามและลาดัคห์คือพุทธ
สำหรับคนไทยโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นคนเปิดกว้างและมีกริยานอบน้อมจึงไม่มีปัญหาเท่าไหร่นัก
ไปที่ไหนวัดใดก็ไหว้ได้หมด บางทีบางคนอาจจะไม่ได้ทำไปเพราะอยากจะเปลี่ยนความเชื่อหากแต่เพื่อแสดงความเคารพต่อผู้คน
ต่อสถานที่
ต่อความเชื่อของคนท้องถิ่นมากกว่า
ต่อความเชื่อของคนท้องถิ่นมากกว่า
ตอนเด็กๆ ฉันมักจะถูกแม่ว่าอยู่เสมอๆ ถ้าไม่ยกมือตั้งตรงอกพร้อมก้มหัวงามๆ
ประหนึ่งกดปุ๊บติดปั้บเวลาที่เจอผู้ใหญ่ แค่สายตาพิฆาตที่ปรายตามองมาฉันก็แทบจะตัวแข็งเหมือนโดน
เมดูซ่าจ้อง แล้วย่ิงโตเป็นผู้ใหญ่เรื่องพวกนี้ยิ่งสำคัญเสมือนการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบไม่ว่าจะวัฒนธรรมไหนการแสดงความนอบน้อมก็ซื้อใจผู้คนได้มากกว่าอยู่แล้วเพราะมันเป็นการแสดงถึงการยอมรับอีกบุคคลหนึ่งที่อยู่ตรงหน้า
เมดูซ่าจ้อง แล้วย่ิงโตเป็นผู้ใหญ่เรื่องพวกนี้ยิ่งสำคัญเสมือนการสร้างความประทับใจเมื่อแรกพบไม่ว่าจะวัฒนธรรมไหนการแสดงความนอบน้อมก็ซื้อใจผู้คนได้มากกว่าอยู่แล้วเพราะมันเป็นการแสดงถึงการยอมรับอีกบุคคลหนึ่งที่อยู่ตรงหน้า
บริเวณโดยรอบเจดีย์นั้นค่อนข้างใหญ่และเป็นจุดชมวิวที่ดีมากของเมืองเลห์แถมยัง
ค่อนข้างสงบเงียบเหมาะกับการมานั่งเล่นชมพระอาทิตย์ตกดิน ถ้าใครมีฝีมือด้านการวาดรูป
ก็น่าจะเป็นที่ที่ให้สมาธิในการผลิตงานศิลปะได้ค่อนข้างดี
ค่อนข้างสงบเงียบเหมาะกับการมานั่งเล่นชมพระอาทิตย์ตกดิน ถ้าใครมีฝีมือด้านการวาดรูป
ก็น่าจะเป็นที่ที่ให้สมาธิในการผลิตงานศิลปะได้ค่อนข้างดี
หลังจากนั้นเรานั่งรถไปที่
Namgyal Tsemo Gompa วัดซึ่งถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษ
ที่ 15 ตั้งอยู่บนเนินเขา มีพระพุทธรูป “เมไตรยา” (Maitreya) (พระศรีอาริยเมตไตรย์) หรือพระพุทธเจ้าแห่งอนาคตประทับตระหง่านสูงพอๆ กับบ้าน 3 ชั้น อยู่ด้านในห้องแรกที่เราเข้าไปทำการสักการะ อีกห้องหนึ่งนั้นเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าที่เป็นผู้ปกป้องพระพุทธเจ้า “ธรรมปาลา” (Dharmapalas) (Wrathful Deities) ซึ่งสังเกตุง่ายๆ ก็คือจะมีลักษณะร่างกายที่ดูน่ากลัว เช่นมีแขนหลายแขน มีหน้าหลายหน้า รูปปั้นมีสีดำบ้างหรือสีฟ้าทึมๆ บ้าง มีทั้งเพศชาย
และเพศหญฺิง เพศชายจะเรียกรวมๆว่า “มหากาลา” (Mahakala) และเพศหญิงคือ “มหากาลี” (Mahakali) ที่เป็นที่รู้จักดีและมีอยู่ในหลายๆ วัดได้แก่ “มหากาลา” “วัชรภาณี” (Vajrapani) “ยามันตากะ” (Yamantaka) และ “ศรีเทวี” (Sri Devi) เป็นตัวแทนของความโลภ โกรธ หลง ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปกป้องธรรมะและปกป้องผู้ปฏิบัติธรรมะ เวลาที่
ผู้ปฎิบัติธรรมไขว้เขวหรือถูกล่อล่วงโดยกิเลสทั้งหลาย ท่านเหล่านี้ก็จะเป็นผู้ปราบอธรรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเอาชนะมารร้ายทั้งหลายได้เพราะฉะนั้นจึงต้องมีลักษณะภายนอกที่ดูดุร้าย พระที่บวชเรียนใหม่แต่ละรูปนั้นจะมีธรรมปาลาประจำตัวเหมือนเป็นครูอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะได้รับการคัดเลือกโดยลามะที่เป็นเหมือนพระพี่เลี้ยงในเวลาที่เหมาะสม ที่ห้องนี้ผู้ปกป้องนั้นถูกผ้าปิดหน้าไว้แต่บางวัดก็ไม่ปิดคงจะขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละที่
ที่ 15 ตั้งอยู่บนเนินเขา มีพระพุทธรูป “เมไตรยา” (Maitreya) (พระศรีอาริยเมตไตรย์) หรือพระพุทธเจ้าแห่งอนาคตประทับตระหง่านสูงพอๆ กับบ้าน 3 ชั้น อยู่ด้านในห้องแรกที่เราเข้าไปทำการสักการะ อีกห้องหนึ่งนั้นเป็นที่อยู่ของเทพเจ้าที่เป็นผู้ปกป้องพระพุทธเจ้า “ธรรมปาลา” (Dharmapalas) (Wrathful Deities) ซึ่งสังเกตุง่ายๆ ก็คือจะมีลักษณะร่างกายที่ดูน่ากลัว เช่นมีแขนหลายแขน มีหน้าหลายหน้า รูปปั้นมีสีดำบ้างหรือสีฟ้าทึมๆ บ้าง มีทั้งเพศชาย
และเพศหญฺิง เพศชายจะเรียกรวมๆว่า “มหากาลา” (Mahakala) และเพศหญิงคือ “มหากาลี” (Mahakali) ที่เป็นที่รู้จักดีและมีอยู่ในหลายๆ วัดได้แก่ “มหากาลา” “วัชรภาณี” (Vajrapani) “ยามันตากะ” (Yamantaka) และ “ศรีเทวี” (Sri Devi) เป็นตัวแทนของความโลภ โกรธ หลง ซึ่งมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปกป้องธรรมะและปกป้องผู้ปฏิบัติธรรมะ เวลาที่
ผู้ปฎิบัติธรรมไขว้เขวหรือถูกล่อล่วงโดยกิเลสทั้งหลาย ท่านเหล่านี้ก็จะเป็นผู้ปราบอธรรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเอาชนะมารร้ายทั้งหลายได้เพราะฉะนั้นจึงต้องมีลักษณะภายนอกที่ดูดุร้าย พระที่บวชเรียนใหม่แต่ละรูปนั้นจะมีธรรมปาลาประจำตัวเหมือนเป็นครูอีกคนหนึ่ง ซึ่งจะได้รับการคัดเลือกโดยลามะที่เป็นเหมือนพระพี่เลี้ยงในเวลาที่เหมาะสม ที่ห้องนี้ผู้ปกป้องนั้นถูกผ้าปิดหน้าไว้แต่บางวัดก็ไม่ปิดคงจะขึ้นอยู่กับธรรมเนียมของแต่ละที่
ตอนที่เราไปนั้นไม่ได้เข้าไปด้านในเพราะว่าห้องปิดอยู่และลามะที่ดูแลที่เป็นผู้ถือกุญแจนั้นไม่อยู่
ส่วนใหญ่ห้องสำคัญจะถูกล๊อคประตูไว้เสมอ จะเปิดก็ต่อเมื่อมีชาวบ้านมาสักการะพระพุทธรูปหรือนักท่องเที่ยวแวะมาเยี่ยมเยือน
แต่นัมเกลสัญญาว่าจะพากลับมาใหม่ในวันอื่น
เพียงแค่เราเดินก้าวข้ามบันไดขึ้นไปด้านบนไม่กี่ขั้นหัวใจก็เต้นตูมตามรัวเหมือนตีกลอง
ทุกก้าวที่เดินขึ้นความเหนื่อยก็เพ่ิมขึ้นและลมหายใจก็ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ต้องหยุดพักเอาอากาศเข้าปอดเป็นระยะๆ พี่ลีดูเหมือนจะแย่กว่าใครอาการคล้ายหน้ามืดจะเป็นลม เราเร่ิมรู้ถึงผลของการอยู่ที่สูงแล้ว แต่เคล็ดลับก็คืออย่าฝืนและอย่าตกใจ ให้หยุดพักและค่อยๆ หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงหัวใจจะได้เต้นช้าลง ถ้ามีน้ำดื่มติดตัวก็ค่อยๆ จิบทีละนิดเพราะในน้ำก็มีออกซิเจนเหมือนกัน
ทุกก้าวที่เดินขึ้นความเหนื่อยก็เพ่ิมขึ้นและลมหายใจก็ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ต้องหยุดพักเอาอากาศเข้าปอดเป็นระยะๆ พี่ลีดูเหมือนจะแย่กว่าใครอาการคล้ายหน้ามืดจะเป็นลม เราเร่ิมรู้ถึงผลของการอยู่ที่สูงแล้ว แต่เคล็ดลับก็คืออย่าฝืนและอย่าตกใจ ให้หยุดพักและค่อยๆ หายใจเอาออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงหัวใจจะได้เต้นช้าลง ถ้ามีน้ำดื่มติดตัวก็ค่อยๆ จิบทีละนิดเพราะในน้ำก็มีออกซิเจนเหมือนกัน
“เออ
นัมเกล เวลาที่คุณไปเมืองที่มันอยู่ที่ต่ำๆ เนี่ย หายใจติดขัดมั่งมั้ย” ฉันถามเขาไปหอบไปกว่าจะจบประโยค
“อ๋อ
ไม่หรอกครับ แต่ผมจะรู้สึกอึดอัด อย่างไปเดลลีฝุ่นจะเยอะ แล้วเหงื่อก็จะออกมาก ผมแค่ทนที่ที่อากาศชื้นมากๆ
ไม่ได้น่ะครับ” เขาตอบ
“ถ้าคุณไปกรุงเทพคงแย่เลย
เหงื่อต้องออกตลอดเวลา"
อืมม์
นั่นแปลว่าความกดอากาศต่ำไม่มีผลกับคนภูเขา … ไม่ยุติธรรมเลย ว่าแล้วก็หอบแฮ่กๆ ต่อไป
“เดี๋ยวเราจะไป
Leh Palace ต่อ คุณอยากเดินไปหรืออยากนั่งรถไป”
นัมเกลคงคิดว่าเราแกล้งหอบ
“อยู่ตรงไหนล่ะ
ไกลมั้ย” ฉันถาม
เขาชี้ลงไปด้านล่างซึ่งมีระยะห่างจากที่วัดนัมเกล
เซโม พอสมควร สำหรับวันแรกเราควรถนอมร่างกายไว้ก่อน เพราะไม่รู้จะเจออะไรในวันถัดไป
“อืมม์
นั่งรถไปละกันนะ” ทุกคนตอบเป็นเสียงเดียวกัน
ใช้เวลาไม่นานนักรถก็พาเราไปถึงพระราชวังเลห์ซึ่งตอนนี้อยู่ในสภาพที่ค่อนข้างทรุดโทรมและกำลังอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมแต่เปิดให้เดินเข้าไปชมได้ ต้องค่อยๆ คลำทางเพราะด้านในไม่มีไฟ ที่นี่ถูกสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบทิเบตรูปแบบคล้ายพระราชวังโปตาลา มีความสูงถึง 9 ชั้น สมัยก่อนเป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งลาดัคห์จนกระทั่งถูกรุกรานโดยแคชเมียร์
จึงต้องย้ายไปอยู่ที่ Stok Palace ในสมัยก่อนห้องของสมาชิกราชวงศ์นั้นอยู่ชั้นบนส่วนชั้นล่างเป็นห้องเก็บของและโรงเลี้ยงสัตว์
พระราชวังถูกทิ้งไว้ไม่ได้รับการดูแลอย่างดีเท่าที่ควรจนกระทั่งถูกขายให้กับหน่วยงานด้านโบราณคดีภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมของอินเดีย
ซึ่งรัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุนที่จะซ่อมแซมและรักษาไว้เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง
หากกษัตริย์แห่งลาดัคห์มองย้อนกลับมาคงนึกเสียดายภาพสวยงามและยิ่งใหญ่
ในอดีต แต่ทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและบทบาทอำนาจของผู้ถือครอง การรุกรานแผ่นดินมีมาแต่ครั้งโบราณและยังคงมีอยู่ ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความโลภของคนไม่เคยเปลี่ยน การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยึดครองในทรัพย์สินแผ่นดินและสมบัติของผู้อื่นถึือเป็นคุณสมบัติพิเศษของมนุษย์ ทุกคนมีข้ออ้างเสมอ … ข้ออ้างที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองได้ผลประโยชน์มากที่สุด
ในอดีต แต่ทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมและบทบาทอำนาจของผู้ถือครอง การรุกรานแผ่นดินมีมาแต่ครั้งโบราณและยังคงมีอยู่ ถึงแม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ความโลภของคนไม่เคยเปลี่ยน การทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ยึดครองในทรัพย์สินแผ่นดินและสมบัติของผู้อื่นถึือเป็นคุณสมบัติพิเศษของมนุษย์ ทุกคนมีข้ออ้างเสมอ … ข้ออ้างที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ตัวเองได้ผลประโยชน์มากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น